การอยู่ค้างคืนที่วัด
ทางวัดมีที่พักค่อนข้างจำกัดสำหรับอุบาสกผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ชีวิตของพระ
ทุกคนที่มาอยู่ค้างคืนวัดจะต้องถือศีล8 และปฎิบัตืตามกฎของวัดและกิจวัตรประจำวันที่ได้ระบุไว้ตามข้อมูลด้านล่าง
ผู้มาพัก ควรตระหนักว่าการมาอยู่ค้างที่วัดนั้นไม่ควรเป็นไปอย่างเร่งรีบ
เพื่อที่จะได้ประโยชน์เต็มที่ จากประสบการณ์การมาปฎิบัติธรรมที่วัดนั้น ผู้มาพักควรใช้เวลาให้คุ้มค่า
ควรคิดและปฏิบัติตนในฐานะของ 'แขกผู้มาเยือน' และ 'เจ้าบ้าน' ตามที่วัดพุทธโพธิวันระบุไว้ดังนี้
ผู้มาพักจะต้องอยู่ค้างอย่างน้อย 3 คืน
ผู้มาพักจะต้องแจ้งล่วงหน้าก้่อนวันเข้าพัก 7 วัน
ผู้มาพักจะต้องมาถึงวัดไม่เกิน 18.00 น. ในวันแรกที่มาเข้าพัก
ผู้มาพักใหม่ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การอยู่วัดมาก่อน สามารถอยู่ค้างได้ 3 คืนเท่านั้น
ผู้มาพักใหม่สำหรับวัดพุทธโพธิวัน แต่เคยมีประสบการณ์การอยู่วัดมาก่อน สามารถอยู่ค้างได้นานกว่า แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของ'ช่วงทดลองอยู่' 3วัน
และจะสามารถอยู่ต่อไปได้ หากคณะสงฆ์พิจารณาจาก 3วันนี้แล้ว ให้อนุญาติได้
ผู้ที่ต้องการอยู่เพื่อฝึกตน และมีความคิดที่จะบวช สามารถขออยู่นานได้ตามมติสงฆ์
พระสงฆ์ที่จะขออยู่จำวัด จะต้องมีจดหมายเชิญจากพระอาวุโสก่อนมาจำวัดอย่างน้อย 7 วัน
เพิ่มเติม
ในตอนนี้ทางวัดอนุญาติให้โยมอุบาสก(ชาย) เข้าพักได้เท่านั้น
เด็กอายุต่ำกว่า 18ปี ไม่อนุญาติให้อยู่พักค้างคืนได้
โปรดใช้เวลาอ่านข้อมูลข้างล่างก่อนที่จะขอเข้าพัก
วัดพุทธโพธิวันก่อตั้งโดย Victorian Sangha Association ให้เป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา ตามธรรมเนียมปฏิบัติและข้อวัตรของวัดหนองป่าพง
ทางวัดจึงถือว่า ผู้มาพักนั้น มีความสนใจในการฝึกฝนปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนา และข้อวัตรต่างๆ เพื่อที่จะได้ซึมซับธรรมเนียมของทางวัด และเอื้อต่อการปฏิบัติภาวนาขัดเกลาจิตใจ
ดังนั้น lifestyle ของผู้มาพัก จึงควรถือเป็นแบบอย่าง หรือใกล้เคียง กับอุบาสกที่ดี และพัฒนาความนอบน้อม ความสมถะเรียบง่าย และความปรารถนาดี
อันเป็นคุณค่าต่อความสงบแห่งจิต และ วิปัสนากรรมฐาน
การฝึกฝนปฏิบัตินั้น เริ่มต้นด้วยการที่ผู้มาพักควรมีความตั้งใจในการถือศีล 8 และ แบ่งปันอาหารมื้อหลักร่วมกันในหมู่คณะสงฆ์และอุบาสกที่อยู่ร่วมกัน
(สามารถรับประทานอาหารเช้าได้ แต่ต้องเป็นไปเพื่อเอื้อต่อการทำกิจในช่วงเช้า)
ควรเข้าร่วมในการนั่งสมาธิในช่วงเช้าและเย็นทุกวันเพื่อเป็นการบ่มเพาะความตั้งมั่นในจิตใจ
และใช้ช่วงเวลาที่เหลือในการปฏิบัติภาวนาส่วนตัว จะช่วยส่งเสริมสมาธิและปัญญา
ทางวัดแนะนำให้ผู้มาพักยึดถือในความสมถะเรียบง่ายและความมีสติ โดยการงดใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตระหว่างเข้าพัก
หากจำเป็นต้องใช้ ขอให้พิจารณาเวลาที่จะใช้ให้เหมาะสม
ทางวัดขอให้ผู้มาพักงดสูบบุหรี่เพื่อไม่ให้เป็การรบกวนญาติโยมและพระที่วัด และป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ (Bushfire)
สามารถเข้าร่วมในช่วงถาม-ตอบปัญหากับเจ้าอาวาสและพระลูกวัดได้ แต่อาจต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของภิกษุอาวุโส
ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาวิถีแห่งพุทธ และสมาธิภาวนา สามารถเข้าไปหยิบยืมหนังสือ และ CDธรรมะ ของทางวัดได้
ผู้มาพักทั้งที่เป็นชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธ แต่เคยพบกับธรรมเนียมปฏิบัติของวัดป่าสายเถรวาท หรือ สายหลวงปู่ชา
อาจไม่คุ้นเคยกับธรรมเนียมและข้อปฏิบัติต่างๆของทางวัด ขอแนะนำให้ให้อ่านต่อ ในส่วนของ "มารยาทในวัด"
มารยาทในวัด
ข้อปฏิบัติต่่างๆของทางวัดพุทธโพธิวันนั้นเอาแบบอย่างมาจากวัดหนองป่าพงและวัดมาบจันทร์ และปฏิบัติตามข้อวัตรของหลวงปู่ชาอย่างเคร่งครัด
การที่จะได้อยู่ในชุมชนที่ตั้งใจรักษาธรรมเนียมปฏิบัติที่ดำรงค์ไว้เพื่อศีล สมาธิ และปัญญา เหล่านี้เป็นโอกาสอันหายากยิ่ง
ซึ่งผู้มาวัดจึงควรเคารพและตระหนักถึงข้ออฏิบัติเหล่านี้อย่างรอบคอบ
วัดในพุทธศาสนานั้นมีธรรมเนียมปฏิบัติเฉพาะตัว และควรสำรวมกายให้อยู่ในความสงบ เรียบร้อบและอ่อนน้อม
การสังเกตุผู้อื่นจะช่วยให้เราได้รู้จักการวางตัวอย่างเหมาะสมและส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนวัด
ทั้งยังช่วยฝึกสติ และ ความรอบคอบในการสื่อสารกับผู้อื่นในชีวิตประจำวัน
โปรดเข้าใจว่า อาจมีพระสงฆ์หลายรูปที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางพุทธศาสนามาก่อน และผู้มาใหม่บางคนที่อาจยังไม่แม่นยำเรื่องมารยาทและกฏต่างๆในวัด
เราสามารถบอกกล่าวตักเตือนพวกเขาได้ด้วยความเคารพ และเจตนาบริสุทธิ์เช่นนั้นเอง คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ข้อวัตรปฏิบัติ
พระวินัย คือ กฏระเบียบที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมา ซึ่งทางวัดโพธิวันก็พยามยามยึดถือปฏิบัติให้ใกล้เคียงมากที่สุด
ซึ่งเป็นสิ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพระกับโยม หากขาดควมอุปการะจากญาติโยมแล้ว คณะสงฆ์ก็คงอยู่ไม่ได้
พระสงฆ์นั้นต้องงดเว้นจากการถือครองทรัพย์สิน อาหาร จึงต้องพึ่งพาปัจจัยพื้นฐานจากญาติโยม เช่น การเตรียมอาหาร ถวายอาหาร ตัดต้นไม้ และการขุดดิน
ความเคารพ
ในวัดนั้น จะเน้นเรื่องความสามัคคี ผ่านการฝึกสติและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น
ทางวัดสนับสนุนผู้เข้าพักได้แสดงออกซึ่งธรรมเนียมอันดีงามเหล่านี้
ก่อนจะเข้าเขตอุโบสถหรือเขตที่พักอาศัย ผู้เข้าพักทุกคนต้องถอดรองเท้า แต่ญาติโยมไม่จำเป็นต้องถอดก็ได้
มีธรรมเนียมเรื่องการกราบครูบาอาจารย์และโบสถ์วิหาร โดยการกราบสามครั้ง อันหมายถึงกราบพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
การกราบเช่นนี้ควรจะทำทุกๆครั้งหลังออกจากหอสมาธิ
เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั่งสมาธิ ควรทำความเคารพพระผู้ใหญ่ด้วยการกราบสามครั้งเช่นกัน
ขณะอยู่ในหอสมาธิ เมื่อเคลื่อนไหว พึงระวังให้มีเสียงน้อยที่สุด
ขณะนั่ง ควรหลีกเลี่ยงการโยกตัวไปมาหรือนอนราบ หรือนั่งหลังพิงกำแพง โดยเฉพาะเวลาพูดคุยธรรมะ
พึงระวัง ไม่นั่งยืดขา ที่อุโบสถ หรือปลายเท้าชี้ไปที่คนอื่น นี่เป็นสิ่งที่ถือว่าไม่สุภาพ
เมื่อถวายของแก่พระสงฆ์ หรือพูดคุยกับท่าน ไม่ควรยืนเหนือกว่าท่าน
แต่ควรเข้าหาท่านในระดับเดียวกันกับที่ท่านนั่ง
การประเคน
พระสงฆ์นั้นสามารถฉันอาหารได้ในระหว่างช่วงเวลาเช้าและเที่ยงเท่านั้น
อะไรก็ตามที่ท่านจะดื่มหรือฉัน ยกเว้นน้ำ จะต้องประเคนจากมือ หรือจากสิ่งอื่นที่สัมผัสโดยตรงผ่านมือเท่านั้น
อาหารและเครื่องดื่ม
อาหารที่ญาติโยมนำมาถวายให้พระสงฆ์นั้น เป็นไปเพื่อให้พระสงฆ์ได้มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายสมถะ และเป็นการเพื่อสืบทอดพุทธศาสนา
พระและโยมวัดสามารถฉันหรือรับประทานอาหารได้เพียงหนึ่งมื้อต่อวัน
โดยฉันอาหารเช้าอาจฉันได้ ก่อนเริ่มงานประจำวัน
เนื่องจากทางวัดจะรับอาหารเสมือนเป็นของขวัญ จึงไม่ควรจัดอาหารที่พิเศษ และปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อความบันเทิงในรสชาติ
ไม่อนุญาติให้โยมวัดเก็บอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ในห้อง หรือรับประทานอาหารจากครัวนอกเหนือเวลาที่กำหนด
ความสัมพันธ์
ตามธรรมเนียมของเรา พระสงฆ์จะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งรวมถึงการควบคุมตนเองจากคำพูดชักชวนหรือการสัมผัสกับสิ่งที่ยั่วยุให้เกิดราคะ สิ่งเหล่านี้เป็นการสิ่งที่ผิดพระวินัยอย่างร้ายแรง
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ และป้องกันการติฉินนินทา หรือ ความเข้าใจผิด
พระสงฆ์จะต้องมีผู้ชายอยู่ด้วยเสมอ ขณะที่มีการสนทนากับผู้หญิงเป็นเวลานาน
แขกและผู้มาเยี่ยมเยียนทั้งชายและหญิง ก็พึงประพฤติตนให้เหมาะสมตามธรรมเนียมปฏิบัติของวัด
ผู้มาพักพึงฝึกฝนประพฤตจิพรหมจรรย์เช่นเดียวกับพระ ซึ่งหมายถึงไม่ควรพูดคุยเรื่องส่วนตัวกับผู้หญิงเป็นเวลานานทั้งโดยตรงและทางโทรศัพท์ หรือ อีเมล
การใช้คำเรียก
โดยทั่วไปแล้ว เจ้าอาวาสวัดจะเรียกว่า "หลวงพ่อ"
พระที่บวชมาแล้วอย่างน้อย 10 พรรษาจะเรียกว่า "อาจารย์"
ส่วนพระอื่นๆที่พรรษาน้อยกว่านั้น จะเรียกว่า "Venerable" หรือคำไทยว่า "ท่าน"
พระทุกรูป ไม่ว่าจะพรรษาเยอะหรือน้อย สามารถเรียกว่า "ภันเต"ได้ ซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งที่แสดงถึงความเคารพ
การเรียกคำนำหน้าเช่นนี้อาจตามด้วยชื่อ หรือไม่ก็ได้ (เช่น ท่านอกาลิโก หรือ ภันเตอกาลิโก)
อัญชลี หรือ การกราบ
"อัญชลี" เป็นท่าทางการแสดงความเคารพ โดยมือทั้งสองจะประกบเข้าหากันในลักษณะการไหว้
แล้วยกสูงขึ้นในขณะเดียวกับที่ก้มศีรษะลง
การกราบอย่างถูกต้อง จะต้องนั่งคุกเข่า โดยบั้นท้ายนั่งอยู่บนส้นเท้าและมืออยู่ในท่าอัญชลี
วางฝ่ามือท้ั้งสองลงบนพื้นห่างกันประมาณสี่นิ้ว จากนั้นจึงก้มหัวลงมาสัมผัสพื้นระหว่างสองมือ ข้อศอกชิดหัวเข่า
กราบทั้งหมดสามครั้ง
ศีล 8 (อุโบสถศีล)
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีล 8 ขึ้นมา โดยมีรากฐานมาจากศีล 5
ซึ่งมีหลักการที่จะช่วยให้ฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม ไปสู่อิสรภาพทางใจได้มากขึ้น
ทางวัดเสนอให้โยมวัดผู้ที่จะพักค้างคืนที่วัดพิจารณาข้อศีลเหล่านี้
1. ไม่คร่าชีวิตสัตว์หรือมนุษย์
2. ไม่ขโมยทรัพย์สินผู้อื่น
3. ไม่ล่วงในทางเพศต่อสามีหรือภรรยาผู้อื่น รวมถึงชายหญิงต้องห้าม
4. ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นจริง หรือ คำโกหก (อันรวมไปถึง ถ้อยคำหยาบคาย ถ้อยคำที่สร้างความแตกแยก คำพูดไร้สาระ )
5. ไม่ดื่มน้ำเมาหรือสารที่ทำให้เมาหรือเสพติด
6. ไม่บริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในอีกวัน, การบริโภคปานะนอกเหนือเวลาที่กำหนด )
7. ไม่ฟ้อนรำทำเพลง แสดงกิริยารื่นเริง รวมถึงละเว้นจากการแต่งสวยแต่งงามให้ร่างกาย (รวมไปถึงการฟังเพลง ดูคลิปวิดิโอจากอินเตอร์เน็ต)
8. ไม่นั่งหรือนอนบนที่นั่งหรือที่นอนที่ทำให้นุ่ม และสูงจากพื้น
สิ่งที่ควรนำมา
อนุญาติให้ผู้เข้าพักนำอุปกรณ์การนอน (ผ้าปูที่นอน และ ปลอกหมอน) ,ถุงนอน และผ้าเช็ดตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้นำมาด้วย ทางวัดมีผ้าปูนอนให้ ซึ่งผู้เข้าพักจะต้องซักและตากก่อนที่จะกลับไป
เสื้อผ้าควรจะเป็นชุดที่สะดวกและคล่องตัว คลุมไหล่และเข่า และควรจะเป็นสีขาวหรือสีสุภาพ (เช่น ดำ,น้ำตาล,เทา)
ชุดที่ไม่ปกปิด เช่น กางเกงขาสั้นหรือเสื้อกล้าม หรือ ชุดที่มีดีไซน์หรือโลโก้ส่งเสริมการขาย หรือกระตุ้นกิเลส
ไม่ควรนำมาสวมใส่ในวัด
ควรเตรียมชุดสำรองสำหรับใส่ในการทำงานมาด้วย ทางวัดมีชุดให้ยืมเปลี่ยนได้ แต่ต้องซักและตากก่อนจะกลับ
ควรเตรียมรองเท้าแตะมาด้วย เพื่อให้ง่ายสำหรับเดินทางไปแต่ละที่
และรองเท้าอีกคู่สำหรับใส่ทำงานภาคสนามหรือรองเท้าบูทก็ควรเตรียมมาด้วย
เสื้อกันหนาว และ เสื้อกันฝนก็เป็นสิ่งจำเป็นตลอดปี
ควรเตรียมหมอนรองนั่งสมาธิมาเองด้วย ทางวัดมีให้ใช้ แต่ค่อนข้างจำกัด
ผู้เข้าพักควรนำไฟฉาย แบตเตอรี่สำรอง นาฬิกาปลุก อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำ และเครื่องใช้ส่วนตัวอื่นๆ
อาหารและเครื่องดื่มมีเตรียมไว้ให้ที่วัด
อย่างไรก็ตาม โปรดเข้าใจว่า ทางวัดรับอาหารจากญาติโยมเหมือนเป็นของขวัญ จึงไม่ควรจัดอาหารที่พิเศษ และปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อความบันเทิงในรสชาติ
กำหนดการประจำวัน
4:30am – 6:00am ทำวัตรเช้า
6:00am เตรียมอาหารเช้า
6:30am รับประทานอาหารเช้า
7:00am -10:00am ช่วงเวลาทำงาน
10:00am – 10:30am ช่วยเตรียมถวายเพล
10:30am ตักบาตร
10:45am รับพร และรับประทานอาหารร่วมกัน
11: 15am ช่วยกันทำความสะอาดครัว
11:45am – 12:30pm สนทนาธรรม/ ถาม-ตอบกับพระภิกษุอาวุโส
12:30pm – 5:30pm ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย
5:30pm จัดเตรียมน้ำปานะ
6:00pm รับประทานน้ำปานะ
7:00pm นั่งสมาธิตอนเย็น,สวดมนต์, ธรรมเทศนาเป็นบางโอกาส
8:30pm – 10:00pm ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย
หมายเหตุ : กำหนดการนี้อาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และตามดุลพินิจของเจ้าอาวาส
การขอเข้าพัก
โปรดทราบ : อีเมลนั้นสงวนไว้สำหรับการขอเข้าพักกับทางวัดเท่านั้น
เราไม่สามารถตอบข้อสงสัยอื่นๆได้ โปรดเข้าไปดูข้อมูลข่าวสารอื่นๆได้ในเพจ
ถ้าคุณอยากเข้าพักสามคืนที่วัด โปรดอ่านข้อมูลในเว็บไซท์ให้รอบคอบก่อนจะส่งเมลมาที่
Bodhivana.guestmonk@gmail.com
โปรดให้ข้อมูลและวันที่ประสงค์จะเข้าพักดังต่อไปนี้
อายุ
เพศ
ข้อมูลติดต่อ
เดินทางมาจากไหน
ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การนั่งสมาธิ การรักษาศีล และการเข้าพักที่วัด
ข้อจำกัดทางกายภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา ทั้งทางกายและทางสุขภาพจิต
โปรดรอ 2-3 วันในการตอบอนุญาติ ซึ่งรวมไปถึงการข้อมูลเข้าพักและแบบฟอร์มข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ
โปรดสละเวลาอ่านแบบฟอร์มเหล่านี้อย่างถี่ถ้วน และให้แน่ใจว่าเข้าใจทุกๆข้อกำหนดในการอยู่พักที่วัด
และโปรดส่งคืนแบบฟอร์มมายังเมลข้างต้น
เมื่อแบบฟอร์มได้รับการตรวจและอนุมัติแล้ว ทางวัดจะส่งคำตอบรับการเข้าพักของคุณ
โปรดอย่าจองวันเข้าพักล่วงหน้าก่อนมากกว่าสองเดือน
สุดท้าย, ทางวัดแนะนำให้คุณขอเข้าพักต่อเมื่อมีความตั้งใจจริงเท่านั้น
ถ้าคุณจำเป็นต้องยกเลิกการเข้าพักไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ขอให้แจ้งทางเราทันที