วัดพุทธโพธิวันเป็นวัดพุทธศาสนาสายปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภทฺโท ชาตะ พ.ศ. 2461 มรณภาพ พ.ศ. 2535) มีพระโสภณภาวนาวิเทศ หรือ พระอาจารย์กัลยาโณซึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ตั้งแต่ปี่ 2528 เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระอาจารย์กัลยาโนศึกษาและปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2528 กับพระอาจารย์ชา และภายหลังจากที่พระอาจารย์ชามรณภาพจึงได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์อนันต์ อกิญฺจโน ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์อาวุโสของพระอาจารย์ชา

ประวัติความเป็นมาของวัดพุทธโพธิวัน

วัดพุทธโพธิวันเป็นวัดพุทธศาสนาสายปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภทฺโท ชาตะ พ.ศ. 2461 มรณภาพ พ.ศ. 2535) มีพระโสภณภาวนาวิเทศ หรือ พระอาจารย์กัลยาโณซึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ตั้งแต่ปี่ 2528 เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระอาจารย์กัลยาโนศึกษาและปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2528 กับพระอาจารย์ชา และภายหลังจากที่พระอาจารย์ชามรณภาพจึงได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์อนันต์ อกิญฺจโน ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์อาวุโสของพระอาจารย์ชา

หลังจากใช้เวลาไตร่ตรองและสืบหาที่ดินที่เหมาะสม สมาชิกของสมาคมฯก็ค้นพบสถานที่สร้างวัดได้มีขนาดพื้นที่จำนวน 75 เอเคอร์ (ไร่ ๒๐๐) ณ บริเวณริมอุทยานแห่งชาติยาร่า (Yarra Ranges National Park) ห่างจากตัวเมืองเมลเบิร์นไปทางทิศตะวันออกระยะทาง 80 กิโลเมตร ที่ดินตั้งอยู่ ณ เลขที่ 770 Woods Point Road ทางสมาคมฯ ได้จัดซื้อที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นมูลค่า 177,500 เหรียญออสเตรเลีย

ในวันเดียวกันนั้น ประธานสมาคมฯ  คุณ Jeffery Tan ได้ส่งสำเนาเอกสารการซื้อขายที่ดินให้แก่คุณ Bee Lian Soo ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมาบจันทร์ จังหวัดระยองเพื่อดำเนินการถวายที่ดินให้แก่พระอาจารย์อนันต์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดมาบจันทร์ พระอาจารย์อนันต์ได้รับที่ดินผืนดังกล่าวไว้ในนามของคณะสงฆ์พระอาจารย์ชา และจะนำไปถวายแก่พระราชภาวนาวิกรม (พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธมฺโม) ณ วัดหนองป่าพง ขณะเดียวกันคุณ Bee Lian Soo ได้ขออนุญาตพระอาจารย์อนันต์เพื่อนิมนต์พระอาจารย์กัลยาโน เดินทางมายังประเทศออสเตรเลียเพื่อปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรม ณ ที่ดินที่ได้จัดซื้อใหม่

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 พระอาจารย์อนันต์ พร้อมกับพระอาจารย์กัลยาโน และคุณ Jeffrey Tan ในนามของสมาคมสงฆ์แห่งรัฐวิกตอเรียได้เดินทางไปยังวัดหนองป่าพงเพื่อส่งมอบที่ดินให้แก่พระอาจารย์เลี่ยม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง วัดหนองป่าพงเป็นวัดต้นสังกัดสายปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ชา พระอาจารย์เลี่ยมรับมอบที่ดินดังกล่าวไว้ในนามของคณะสงฆ์ของพระอาจารย์ชา พร้อมกับให้การอนุโมทนาการบริจาคครั้งนี้ หลังจากนั้นพระอาจารย์อนันต์จึงได้อนุญาตให้พระอาจารย์กัลยาโนเดินทางไปยังประเทศออสเตรเลียเพื่อปฏิบัติธรรม ณ ที่ดินที่ได้บริจาคตามคำนิมนต์ของสมาคมฯ โดยพระอาจารย์กัลยาโนเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลียในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ในระหว่างนั้นสมาคมฯ กำลังจัดเตรียมเอกสารเพื่อขออนุมัติก่อสร้างวัดจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ( local shire council)

หลังจากฤดูเข้าพรรษาแรกของพระอาจารย์กัลยาโนในประเทศออสเตรเลีย ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ท่านได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อร่วมประชุมกับเจ้าอาวาสวัดต่างประเทศพระอาจารย์ชา ที่ประจำอยู่ ณ สาขาภาคพื้นตะวันตก คณะสงฆ์ภาคพื้นตะวันตกเห็นสมควรให้วัดพุทธโพธิวันขึ้นเป็นสาขาของวัดหนองป่าพง หลังจากนั้น การประชุมประจำปีของวัดสาขาทั้งหมด ณ วัดหนองป่าพง ได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 การประชุมครั้งนี้ได้ประกาศให้วัดพุทธโพธิวันเป็นอีกสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง โดยมีพระอาจารย์กัลยาโน เป็นเจ้าอาวาส และมีสมาคมสงฆ์แห่งรัฐวิกตอเรียเป็นผู้ดูแลวัดอย่างเป็นทางการ

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 Shire of Yarra Ranges council ได้อนุมัติแผนการก่อสร้างวัดบนที่ดินผืนข้างต้นตามที่สมาคมฯ ร้องขอ ที่สมาคมสงฆ์ได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างวัดบนผืนดินเลขที่  770 Woods Point Road การพิจารณาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการอนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสงฆ์ ในประเทศออสเตรเลีย นอกจากนั้นยังได้ออนุญาตให้มีการก่อสร้างกุฏิตามชายป่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่เจริญสมาธิสำหรับสงฆ์แต่ละรูป ซึ่งการอนุมัติครั้งนี้ได้อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์สามารถบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเรียบง่ายภายในป่าซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติที่ได้รับมาจากประเทศไทย การก่อสร้างครั้งแรกได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยเริ่มจากการก่อสร้างกุฏิ และห้องน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ในเบื้องต้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความจำกัดของขนาดของพื้นที่ในการรองรับการก่อสร้างวัด สิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องอุปโภค และ บริโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำ รวมไปถึงที่จอดรถและถนนที่จะเข้าไปถึงบริเวณวัด ทำให้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า และมีต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น สมาคมพุทธศาสนิกชนแห่งรัฐวิกตอเรียได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเพื่อแก้ปัญหาพร้อมกับรองรับการก่อสร้างดังกล่าว ทางสมาคมฯ ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมซึ่งมีบริเวณติดกับที่ดินผืนเดิมอีกเป็นจำนวน  125 เอเคอร์ (๓๐๐ ไร่) ตั้งอยู่บนเลขที่ 780 Woods Point Road ซึ่งมีมูลค่า 795,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (รายละเอียดการซื้อขายตามที่จะได้แจ้งต่อไป)

จากการซื้อที่ดินเพิ่มเติมครั้งนี้ ทำให้มีผืนดินรวมถึง 200 เอเคอร์ (๕๐๐ ไร่) ซึ่งสามารถรองรับอาคารและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ที่ดินผืนใหม่ทำให้พระสงฆ์ที่ประจำอยู่ที่วัดสามารถมีอาคารและสิ่งจำเป็นพื้นฐาน อันได้แก่ โรงครัว โรงอาหาร ห้องน้ำ ได้สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างกุฏิเพิ่มเติมจำนวน 2 หลัง และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มของสงฆ์ นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนวัดโดยการให้บริการห้องน้ำและที่จอดรถ

การก่อสร้าง พระอุโบสถ

หลังจากนั้นเป็นต้นมา จำนวนของผู้ที่สนใจที่จะปฏิบัติธรรม ณ วัดพุทธโพธิวันจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พิธีอุปสมบทภิกษุ สามเณรจึงถูกจัดขึ้น ซึ่งพิธีดังกล่าวหากดำเนินการที่วัดจะต้องนิมนต์พระอาจารย์เลี่ยมเป็นพระอุปัชฌาย์รับรอง แต่ในกรณีที่ไม่สามารถจัดพิธีที่วัดพุทธโพธิวัน พระอาจารย์กัลยาโนพร้อมกับพระภิกษุจำนวนหนึ่งร่วมกับผู้ที่จะบวชและครอบครัวของผู้ที่จะบวชจะต้องเดินทางไปประเทศไทยเพื่อเข้าพิธีอุปสมบท

 ต่อมาทางสมาคมสงฆ์แห่งรัฐวิกตอเรียและผู้สนับสนุนพระพุทธศาสนาและลูกศิษย์ของวัดได้ตระหนักเห็นว่าควรจัดสร้างพระอุโบสถขึ้นเพื่อให้สงฆ์ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม แผนการก่อสร้างพระอุโบสถได้ถูกจัดทำขึ้นและถูกนำเสนอต่อ Local council ภายใต้คำแนะนำของพระอาจารย์กัลยาโน ตัวพระอุโบสถมีความสูงจากระดับพื้นดิน 16 เมตร ยาว 27 เมตร กว้าง 15 เมตร ประดับหน้ามุขทั้งสองด้าน และมีชานกว้างขนาด 3 เมตรเป็นทางรอบล้อม

ในเดือนกันยายน 2548 Shire of Yarra Ranges ได้อนุมัติแผนการก่อสร้างพระอุโบสถ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 พระอุโบสถจึงเริ่มสร้างขึ้น และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พระอาจารย์เลี่ยมได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ อาคารพระอุโบสถสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ไม่รวมถึงการตกแต่งภายในและบริเวณโดยรอบ

ส่วนสีมา หรือ เขตที่กำหนดขึ้นสำหรับการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์นั้นได้ถูกกำหนดขึ้นใหม่พร้อมกับการก่อสร้างพระอุโบสถ โดยมีขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 46 เมตร กำหนดเขตแปดทิศโดยลูกนิมิตที่ทำจากหินเกรนิตแปดลูก ส่วนสีมาเดิมนั้น ทางวัดได้จัดทำพิธีสวดถอนสีมาไปในช่วงต้นของฤดูเข้าพรรษาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เขตสีมาใหม่จะถูกกำหนดตามข้อบัญญัติในพระวินัยเมื่อพิธีเปิดพระอุโบสถได้ดำเนินการเป็นทางการ ในพิธีดังกล่าวลูกนิมิตลูกที่เก้าจะถูกฝังลงที่กลางพระอุโบสถ ณ บริเวณอาสนะสงฆ์

กุฏิรับรองพระมหาเถระ

กุฏิหลังนี้ซึ่งสร้างหลังอุโบสถ  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553  มีความกว้าง  6.2  เมตร  ยาว  16.7  เมตร  สูง  3.6  เมตร  โคร้างไม้ทรงตะวันตก  ยกพื้นสูง  มีห้องพัก  1  ห้อง  ห้องน้ำ  1  ห้อง  ห้องโถงใหญ่  1  ห้อง  ห้องครัว  1  ห้อง  มีระเบียงด้านหน้าและประดับด้วยสวนหย่อมสไตล์ญี่ปุ่น

กุฏิพระภิกษุ สามเณร

กุฏิพระภิกษุ  สามเณร  มีทั้งหมด 14  หลัง เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2546 -2557  กุแต่ละหลังมีโครงสร้างไม้มุงหลังคาสังกะลอนเคลือบสีเขียวอย่างดี  ใช้ด้วยวัสดุกันความหนาวเย็น  ไม่มีไฟฟ้าและห้องน้ำ  มีทางจงกรมมุงหลังคา  ขนาดความกว้าง  4  เมตร  ยาว  5  เมตร  สูง  3.6  เมตร

กุฏิกรรมฐาน

สร้างทางทิศเหนือของอุโบสถห่างประมาณ 1  กิโลเมตร  เริ่มสร้าง   เดือน  เมษายน  พ.ศ. 2560 – เดือน มกราคม  พ.ศ.2561  โครงสร้างไม้ผนังปูนประยุกต์  ใช้วัสดุกันความหนาวเย็น  มีห้องพัก  1  ห้อง  ห้องน้ำ  1  ห้อง  ห้องครัว  1  ห้อง  ห้องโถงใหญ่  1  ห้อง  พร้อมสร้างโรงเก็บไม้สำหรับใส่เตาผิง  1  หลัง  กุฏิกรรมฐานนี้มีขนาดความกว้าง  10.6  เมตร  ยาว  15.7  เมตร  สูง  4  เมตร 

ห้องน้ำชาย – หญิง

อยู้ทางทิศเหนือเฉียงใต้อุโสถ  สร้างเมื่อ  พ.ศ.2552  ขนาดความกว้าง  10  เมตร  ความยาว  12  เมตร  ความสูง  4  เมตร  โครงสร้างด้วยอิฐภูเขาไฟเสริมเหล็ก  หลังคามุงด้วยสังกะสีเคลือบสีเขียวอย่างดีชั้นเดียว  แบ่งเป็น  4  ส่วน  ส่วนที่ 1  เป็นห้องน้ำชายมีห้องสุขา  3  ห้อง  โถปัสสาวะ   3  ชุด  อ่างล้างหน้า  4  แท่น ส่วนที่  2  เป็นห้องน้ำหญิง  มีห้องสุขา  5  ห้อง  อ่างล้างหน้า  4  แท่น  ห้องอาบน้ำสำหรับผู้หญิง 1  ห้อง   ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ  1  ห้อง 

ธรรมศาลา – หอฉัน

อยู่ทางทิศตะวันออกของอุโบสถ  สร้างเมื่อ  พ.ศ.2557  โครงสร้างด้วยอิฐภูเขาไฟแดง  ตกแต่งด้วยกระจกรอบตัวอาคาร  ขนาดความกว้าง 28 เมตร  ยาว 16 เมตร  สูง 9 เมตร  แบ่งเป็น  3  ส่วน 

ส่วนที่  1  เป็นด้านหน้าใช้สำหรับโต๊ะหนังสือ – CD ธรรมะ ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

ส่วนที่  2  เป็นมีห้องโถงใหญ่สำหรับประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและฉันภัตตาหาร   

ส่วนที่  3  เป็นห้องน้ำ  2 ห้อง  อ่างล้างหน้า  2  แท่น  ห้องคลังเก็บของ  1  ห้อง  ห้องเครื่องเสียง  1  ห้อง 

บันไดมังกรคายพญานาค

อยู่นอกตัวอาคารอุโบสถเพื่อเชื่อมโยงทางเดินมาทางธรรมศาลา-หอฉัน  สร้างด้วยไฟเบอร์เคลือบสีขาวอย่างดี  เครื่องทรงพญานาคสีทอง  ฝีมือช่างอำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  ประเทศไทย